โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดกับผู้ที่ติดอุปกรณ์ไอทีและใช้งานคอมพิเตอร์เป็นเวลานาน หรือลักษณะอาการของคนที่ชอบทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือใช้แทปเล็ตสมาร์ทโฟนอย่างหักโหม ซึ่งถ้าเป็นอยู่อย่างนี้อาจถึงขั้นรุนแรงเรื้อรัง รักษาหายยากจนรักษาด้วยยาไม่ได้ ต้องถึงขั้นผ่าตัด เรามาดูวิธีป้องกันโรคนี้กันค่ะ
หากเริ่มต้นดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ต้องเริ่มจากการนั่งและท่านั่งที่ดี การจัดสิ่งของให้หยิบจับสะดวก อยู่ในท่าที่เหมาะสม ก็จะทำให้ป้องกันอาการโรคนี้ได้ ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้องนั้นทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
- จอภาพคอมพิวเตอร์อยู่ระดับเดียวกับสายตา ห่างจากตา 2-18 นิ้ว(จอแบน)หรือห่างจากตา 18-24 นิ้ว (จอแบบเก่า)
- ไม่ยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ปรับพนักพิมพ์ 100-110 องศา
- ศอกตั้งฉากกับลำตัว, คีย์บอร์ทอยู่ระดับเดียวกับเม้าส์ ไม่อยู่ในลิ้นชัก
- สะโพกและขาตั้งฉากกัน ความสูงของเก้าอี้ต้องพอดี
- มีที่วางพักเท้าเวลานั่งทำงาน เพื่อไม่ให้เท้าลอยขึ้นมา
- ทำงานไม่เกิน 2-3 ชั่วโมงควรลุกเปลี่ยนท่านั่งบ้าง อย่างน้อง 5-10 นาที
แต่ปัจจุบันในยุคนี้ คนจำนวนมากนิยมใช้คอมพิวเตอร์ notebook กันมาก ซึ่งการใช้ notebook ก็จะมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมด้วย
สำหรับพวกที่ทำงานกับโน๊ตบุ๊ค หรือเน็ตบุ๊คนั้น ให้จัดวางและทำตามขั้นตอนดังนี้
- วางโน๊ตบุ๊คบนหนังสือกองสูงๆ ขึ้นมาจากขอบโต๊ะ จนให้จออยู่ระดับสายตา
- หาเม้าส์และแป้นพิมพ์มาต่อเพิ่ม ปรับทุกอย่างให้เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
- เวลาทำงานไปนานๆ ควรมีหมอนนุ่มๆวางพักข้อมือ
- ไม่นอนเล่นโน๊ตบุ๊คเพราะจะทำให้สายตาเสียได้
- ไม่เล่นขณะที่แสงไฟไม่เพียงพอ หรือห้องมืดเกินไป
- พักสายตาและข้อมือหากเล่นนานเกิน 1 ชั่วโมง
ซึ่งหากทำตามขั้นตอนท่านั่งที่ถูกต้องแล้ว จะไม่มีอาการปวดหลัง ปวดตา และนิ้วล็อกด้วย และนี่คือท่านั่งป้องกัน โรคออฟฟิศซินโดรม
ที่มา : http://www.it24hrs.com/2012/how-to-protech-office-syndrome-01-sitting